สัญญาณอันตราย เข้าข่ายเป็น “โรควิตกกังวล” ในปัจจุบัน ผู้ป่วยที่เป็นโรควิตกกังวลจะพบว่ามีความวิตกกังวลและอาการอื่นๆ ต่อเนื่อง และอาการไม่หายไป หรืออาจมีอาการที่แย่ลงได้ในที่สุด โดยสาเหตุของโรควิตกกังวล มักเกิดมาจากความผิดปกติทางจิตใจ หรือความไม่สมดุลของสารสื่อประสาทในสมอง และเกี่ยวกับพื้นฐานสุขภาพจิตของแต่ละบุคลด้วย
สัญญาณอันตราย เข้าข่ายเป็น “โรควิตกกังวล”
ซึ่งหากไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกต้อง จะทำให้อาการรุนแรงขึ้น และเพิ่มความเสี่ยงการเกิดโรคตามมาอีกหลายโรค
อาการโดยทั่วไปของโรควิตกกังวล
- มีอาการใจลอย ตกใจง่าย รู้สึกตื่นตระหนก กลัว และไม่สบายใจ
- ไม่สามารถอยู่ในความสงบหรือหักห้ามใจไม่ให้คิดได้ หงุดหงิด ไม่มีสมาธิ
- มีปัญหาเรื่องการนอนหลับ เช่น นอนไม่หลับ นอนหลับยาก
- หายใจตื้น ใจสั่น ใจเต้นเร็วและแรง กระสับกระส่าย เจ็บหน้าอก ปากแห้ง
- กล้ามเนื้อตึงเกร็ง โดยเฉพาะที่ต้นคอ ไหล่ หลัง มีอาการเหน็บชาที่มือและเท้า
- มือเท้าเย็นหรือเหงื่อแตก มีอาการคลื่นไส้ ปวดศีรษะ
- มีอาการสั่น ท้องเสีย ปัสสาวะบ่อย อ่อนล้าเหนื่อยง่าย

ประเภทของโรควิตกกังวล
1.โรคกังวลทั่วไป
มีความเครียดหรือมีความกังวลมากเกินไปจากความเป็นจริง ถึงแม้ว่าจะมีสาเหตุเพียงเล็กน้อย หรือไม่มีสาเหตุที่ไปกระตุ้นให้เกิดอาการกังวลได้ ซึ่งผู้ที่เป็นโรควิตกกังวลทั่วไป จะมีอาการติดต่อกันนานกว่า 6 เดือน อาการเด่นที่สำคัญคือ คิดฟุ้งซ่าน
2.โรคแพนิค
คือภาวะตื่นตระหนกต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง โดยไม่มีเหตุผลหรือหาสาเหตุไม่ได้ ซึ่งโรคนี้แตกต่างจากอาการหวาดกลัวหรือกังวลทั่วไป เนื่องจากผู้ป่วยจะเกิดอาการหวาดกลัวอย่างรุนแรง ทั้งที่ตัวเองไม่ได้เผชิญหน้าหรือตกอยู่ในสถานการณ์อันตราย อาการแพนิคเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ส่งผลให้ผู้ป่วยโรคแพนิครู้สึกกลัวและละอาย เนื่องจากไม่สามารถควบคุมตัวเองหรือดำเนินชีวิตประจำวันได้ตามปกติ
3.โรคกลัวการเข้าสังคม หรือโรคกลัวแบบจำเพาะ
คือมีภาวะกังวลรุนแรงมาก หรือมีความระมัดระวังตัวเกินเหตุ ในสถานการณ์ทางสังคมต่างๆ ที่ต้องพบเจอตามปกติในชีวิตประจำวัน โดยความกังวลที่เกิดขึ้นมักเป็นความกลัวการตัดสินจากผู้อื่น หรือกลัวว่าจะเกิดความอับอายและถูกล้อเลียน สำหรับอาการกลัวแบบจำเพาะ ยกตัวอย่างเช่น กลัวความสูง หรือกลัวสัตว์บางชนิด ซึ่งจะกลัวในระดับที่ต้องพยายามหลีกเลี่ยงให้ได้
วิธีควบคุมหรือบรรเทาอาการโรควิตกกังวลให้ทุเลาลง
1.พักผ่อนให้เป็นเวลา
หลีกเลี่ยงหรืองดการบริโภคเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ น้ำอัดลม รวมทั้งเครื่องดื่มชูกำลัง เนื่องจากคาเฟอีนอาจกระตุ้นให้อาการแย่ลงได้
2.รับประทานยาที่แพทย์สั่งอย่างครบถ้วนต่อเนื่อง
หากมีความจำเป็นต้องซื้อยารักษาโรคหรือสมุนไพรต่างๆ ตามร้านขายยาทั่วไป ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อน
3.ฝึกทำสมาธิ
ทำจิตใจให้ผ่อนคลาย และรู้จักการปล่อยวาง ซึ่งจะช่วยให้จิตใจสงบขึ้น หากรู้สึกว่าวิตกกังวลเกินกว่าเหตุ ให้เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน หรือโทรขอรับคำปรึกษาทางสายด่วนสุขภาพจิต 1323
4.ออกกำลังกายด้วยวิธีแอโรบิก
มีผลทำให้อาการสงบลงได้ แต่ยังไม่มีหลักฐานจากการศึกษาค้นคว้าที่มากพอเพื่อนำมาเป็นหนึ่งในวิธีการรักษา
5.สำหรับญาติหรือคนรอบข้าง ควรทำความเข้าใจ
ว่าอาการของผู้ป่วยไม่ได้เกิดจากการแกล้งทำหรือคิดมากไปเอง จึงควรเข้าอกเข้าใจและให้กำลังใจผู้ที่เป็นโรคดังกล่าว ซึ่งสามารถรักษาได้และกลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดีดังเดิมได้
หากใครที่รู้สึกว่าตัวเอง มีแนวโน้มที่จะเข้าข่าย การเป็นโรควิตกกังวล ก็ควรที่จะหาข้อปฏิบัติหรือแนวทางการแก้ไข หรือเข้าปรึกษาแพทย์เพื่อทำการรักษา เพื่อที่เราจะได้หายเป็นปกติได้นั่นเองค่ะ
6 สัตว์เลี้ยง หอพัก เลี้ยงง่ายสบายหู รูปแบบการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไป คนย้ายมาอยู่อาศัยในรูปแบบ คอนโดฯ อพารท์เมนท์ กันมากขึ้น หลาย ๆ หอพักมักมีกฎข้อห้ามในการเลี้ยงสัตว์ที่เข้มงวด ทำให้ไม่สามารถเลี้ยงหมาเลี้ยงแมวได้เพราะเกรงว่าจะไปรบกวนข้างห้อง บางคนถึงขั้นแอบเลี้ยงน้องหมาน้องแมว แต่ก็ไม่เป็ผลเนื่องจาก น้องๆอาจส่งเสียงบ้างเป็นครั้งคราว หรืออาจจะสร้างความลำคาญให้กับข้างห้องได้
อัพเดทสถานการณ์โควิด 19 อาจมีแนวโน้มกลับมารุนแรงอีกครั้ง ในช่วงนี้ใกล้ช่วงเทศกาลสงกรานต์พอดี ทำให้ประชนหลายคนเกิดความกังวลและลังเลว่าจะกลับบ้านดีไหม? เนื่องเกิดสถานการณ์แบบนี้ขึ้นแล้วมีจังหวัดไหนบ้างต้องกักตัว 14 วัน วันนี้เรา สรุปรวมจังหวัดที่ต้องกักตัวหรือมีมาตรฐานพิเศษมาไว้ให้แล้ว พร้อมอัพเดทตลอดเวลาสามารถเข้าดูได้ตลอด